การหาแหล่งกำเนิดเสียงโดย Acoustic Camera
Acoustic Camera การหาแหล่งกำเนิดเสียง Sound source location ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่ามีการพัฒนาไปถึงขั้นไหนกันแล้วนะคะ
ในการหาแหล่งกำเนิดเสียงในสมัยก่อนต้องอาศัยการใช้การฟังของมนุษย์เป็นตัวระบุแหล่งกำเนิดเสียง ใช้ในงานทางทหาร สำหรับหาตำแหน่งของรถถัง และเครื่องบินรบ
และพอต่อมา เมื่อได้มีการผลิตเครื่องมือวัดเสียงเลยได้มีการใช้เครื่องวัดเสียงไปวัดตามจุดต่างๆเพื่อหาจุดที่เสียงดังที่สุด
แต่เครื่องวัดเสียงก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในการหาแหล่งกำเนิดเสียงได้เพราะว่าจำนวนไมโครโฟนแค่ตัวเดียว สามารถเก็บข้อมูลเสียงจากหลายทิศทาง
ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบ Array microphones หรือเสาอากาศไมโครโฟน หลายๆตัว เพื่อให้สำหรับการ Beam เสียงที่เกิดขึ้น โดยเรียกระบบนี้ว่า Acoustic Beampattern
แต่ก็จะมีการยุ่งยากในการเชื่อมต่อและ setup ระบบในแต่ละ Ch. Microphone แต่ต้องประมวลผลสัญญาณที่ได้ไปซ้อนทับกับภาพเพื่อระบุตำแหน่ง
Norsonic เลยได้มีการพัฒนาสร้าง Acoustic camera ที่สามารถทำงานได้และประมวลผลแบบ Real time ซึ่งสามารถทำงานได้รวดเร็วและได้เปรียบกว่าทุกๆระบบที่มีอยู่ในโลก ณ ตอนนี้
Applications การใช้งาน ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้
– ระบุแหล่งกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดการรบกวน เช่น พื้นที่ก่อสร้าง อุปกรณ์ภายในงานอุตสาหกรรม เสียงรบกวนจากสภาวะแวดล้อมในชุมชนเมือง
– ระบุตำแหน่งที่กำเนิดเสียงในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง เช่น หอกลั่น หอระบายความร้อน สายไฟฟ้าที่มีเสียงการ Spark ระยะไกล
– ตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้มาตรการลดเสียงรบกวน
– ใช้ในการหาแหล่งกำเนิดเสียง ตำแหน่งที่เกิดเสียงที่ผิดปกติในชิ้นงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือแพทย์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรนิกส์ ที่ทำให้เกิดเสียง
– ใช้ในการตรวจสอบการไม่แน่นสนิทของผนัง หรือพาติชั่นในการป้องกันเสียงในอาคาร
Case study
การหารอยช่องปิดที่ไม่สนิท ที่ทำให้เสียงเข้าของอาคารสำนักงาน ได้อย่างรวดเร็ว
หาจุดที่เสียงผ่านมายังช่องต่างๆของประตู หน้าต่างที่ไม่แนบสนิท ของอาคารที่มีการแสดงดนตรี
ตรวจสอบจุดที่เสียงผ่านมายังรอยต่อ สำหรับห้องทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุ Transmission loss
ตรวจสอบเสียงที่รั่วเข้ามายังห้องโดยสารของรถบ้าน
หาแหล่งกำเนิดเสียงที่มาจากความสั่นสะเทือนที่ติดกับโครงสร้างของอาคาร
หาตำแหน่งของเสียงที่ผิดปกติของกระจกไฟฟ้ารถยนต์
หาแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นลักษณะ Tonal noise สร้างความรำคาญ ในบริเวณจุดที่เข้าถึงได้ยากและสลับซับซ้อน
ข้อดี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– ติดตั้งอุปกรณ์ง่าย สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพียง 2 นาทีสามารถทำงานได้เลย (ระบบ Array microphones แบบอื่นๆ ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการ Setup)
– Array microphones จำนวน 128 microphones ตัว ซึ่งเป็นจำนวณมาก และมีความแม่นยำในการระบุตำแหน่งสูงมาก (จำนวนไมโครโฟนเยอะการระบุตำแหน่งสามารถทำให้แม่นยำ)
– ทำงานได้โดยคนเพียงคนเดียว พร้อม Software ที่แสดงผล Real time วิเคราะห์หน้างานได้ทันที ไม่ต้องนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อซ้อนข้อมูลภาพกับเสียงอีก
– สามารถบันทึกข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ย้อนหลังได้อย่างละเอียด ทั้งตำแหน่งของเสียงที่เกิด ระดับเสียง ความถี่เสียง และตัดเสียงรบกวนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกได้ทั้งแบบ Real time และการนำมาวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง Post processing
– Software ที่ง่ายต่อการใช้งาน และการแสดงผลที่เข้าใจง่าย โดยที่ผู้งานไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ในระบบ Digital Signal Processing ก็สามารถทำงานได้
– การฝึกอบรมใช้งาน และการดูแล Support จากทีมงานวิศวกรของบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยตรงจากผู้ผลิต