Geonoise Thailand

รับปรึกษาปัญหาด้านเสียง การควบคุมเสียง ความสั่นสะเทือน ทั้งยังมีการประเมินปัญหาและวิเคราะห์ แก้ไข รวมไปถึงการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยเฉพาะ เรายังจำหน่ายอุปกรณ์กันเสียง วัดเสียง และอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เสียงรบกวน

เสียงรบกวน

การตรวจวัดเสียงและการประเมินเสียงรบกวนในประเทศไทยตาม ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565 จะเห็นได้ว่าการวัดและการประเมินมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก และเครื่องมือวัดเสียงระดับความแม่นยำ Class 1 มีราคาสูง แล้วถ้าหากเราจะประเมินระดับการรบกวนในเบื้องต้นเราจะสามารถใช้เครื่องที่ราคาถูกว่าเครื่องวัดเสียงในระดับ Class 1 ได้หรือไม่

ในฝั่งของผู้ประกอบการเองบางทีการจะซื้อเครื่องมือในระดับ Class 1 คงจะเป็นการลงทุนที่สูงเกินไปในการจะต้องมาประเมินเสียงรบกวนเพียงไม่กี่ครั้ง หรือการที่จะรอให้เกิดการร้องเรียนแล้วมีเจ้าหน้าที่รัฐมาตรวจสอบก็จะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเมื่อเสียงเกินมาตรฐานและต้องแก้ไขปัญหา

เครื่องที่พอจะสามารถประเมินค่าเสียงรบกวนได้เป็นอย่างน้อยคือ

  1. เครื่องวัดเสียงที่มีการสอบเทียบจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน
  2. มีเครื่องกำเนิดเสียงอ้างอิงหรือ Sound calibrator ไว้สอบทวนในการวัดเสียงว่าเครื่องเรายังสามารถวัดได้อย่างถูกต้องมั๊ย
  3. เครื่องจะต้องสามารถเก็บข้อมูลในลักษณะ data logger หรือมีฟังก์ชั่น Percentile ที่สามารถหาค่าระดับ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ได้ (ส่วนใหญ่จะพบในเครื่องที่มีราคาสูงมากๆ) แต่ว่าเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเสียงแบบ data logger ในความละเอียดเป็นวินาที สามารถใช้ฟังก์ชั่นในโปรแกรม Excel ในการหาค่า เปอร์เซ็นไทล์ที่ 90

วิธีการคำนวณเสียงรบกวน

ให้เอาระดับเสียงขณะมีการรบกวน ลบด้วย ระดับเสียงพื้นฐาน ถ้ามีค่าเกิน 10 dBA แสดงว่าเป็นเสียงรบกวน

ก็คือว่าให้ทำการตรวจวัดระดับเสียง ณ จุดที่เราได้รับการรบกวนจากเสียงนั้น เช่น เราใช้ชีวิตอยู่ในบ้านในห้องนอน และรู้สึกว่าได้รับการรบกวน ขณะที่เราใช้ชีวิตในห้องนอน ก็ให้ทำการตรวจวัดระดับเสียงขณะมีการรบกวนที่บริเวณห้องนอน และทำการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานตอนที่ยังไม่เกิดการรบกวน ณ จุดเดียวกันกับตอนที่มีเสียงรบกวน

ยกตัวอย่าง ค่าระดับเสียงขณะมีการรบกวนจากแหล่งกำเนิดเสียงวัดในห้องนอน 55 dBA เป็นเสียงต่อเนื่องมากกว่า 1 ชม. ค่าระดับเสียงเมื่อแหล่งกำเนิดเสียงนั้นหยุดไป เป็นเสียงขณะไม่มีการรบกวน 48 dBA วัดอย่างน้อย 5 นาที และระดับเสียงพื้นฐาน และค่า L90 ที่หาได้จาก เปอร์เซนไทล์ เท่ากับ 43 dBA

เสียงพื้นฐานในที่นี้คือค่า เปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 หรือ L90

สมการคำนวณ จากการควบคุมมลพิษ

เข้าสูตร เสียงขณะมีการรบกวน ลบ ระดับเสียงพื้นฐาน เท่ากับ ระดับการรบกวน

จะได้ 54.03 dBA – 43 dBA = 11 dBA ถือว่าเป็นเสียงรบกวน

อย่างภาพตัวอย่างเป็นเครื่องวัดระดับเสียงยี่ห้อ PLACID SL-02 เป็น เครื่องระดับ Class 2 ที่สามารถเก็บข้อมูลแบบ data logger ได้ และมีเครื่อง Sound calibrator CA-02 ไว้สำหรับสอบทวนและปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องมือ ซึ่งสามารถวัดค่าและประเมินระดับเสียงรบกวนในเบื้องต้นได้ ซึ่งตัวเครื่องมือวัดเสียงของ PLACID SL-02 สามารถวัดได้ทั้งค่าระดับเสียงเฉลี่ย Leq ระดับเสียงสูงสุด LMax ทั้งในหน่วย dBA และ dBC และในการประเมินค่าระดับการรบกวนซึ่งจะต้องมีการวัดค่าระดับเสียงพื้นฐานอย่างน้อย 5 นาที และต้องมีต่า เปอร์เซนไทล์ที่ 90 มาใช้คำนวณ ซึ่งเรายังสามารถเก็บข้อมูลนูปแบบ data logger และนำมาเข้าฟังก์ชั่น percentile ใน excel เพื่อหาระดับ เปอร์เซนไทล์ที่ 90

นอกจากนั้นเรายังสามารถเฝ้าระวังเรื่องเสียงดังรบกวนโดยการติดตั้งเครื่องมือวัดที่สามารถแสดงผลระดับเสียงในแบบ Real time ในการเฝ้าระวังเรื่องเสียง โดยที่ทาง PLACID Instrument สามารถ Supply เครื่องตรวจวัดที่สามารถวัดค่าได้แม่นยำมีการสอบเทียบเครื่องมือในลักษณะที่เป็นจอ LCD screen อีกด้วย

เสียงรบกวน
Scroll to top