เคยสงสัยหรือไม่ ค่าการดูดซับเสียงของวัสดุที่ติดตั้งไปแล้วมีค่าเท่าไหร่?
SONOCAT
A multifunctional acoustic device for in-situ measurements.
ปัจจุบันนี้ ค่าการดูดซับเสียงของวัสดุสามารถทดสอบได้ที่หน้างานจริง ด้วยเครื่องมีที่มีเทคโนโลยีที่สามารถวัดคลื่นเสียงที่ตกกระทบวัตถุและคลื่นเสียงที่สะท้อนออกจากวัตถุได้ แม้จะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่าโดยปกติการทดสอบค่าการดูดซับเสียง เช่น ค่า Absorption coefficient ค่า NRC หรือ ค่า SAA จะต้องทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการทางเสียง ที่มีห้องที่ควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น ห้องเสียงสะท้อน (Reverberation Chamber) ตามวิธีการดังมาตรฐาน ISO 354 เป็นต้น โดยใช้หลักการสร้างสนามของเสียง (Sound field) ภายในห้องเสียงสะท้อน ซึ่งหลักการสร้างสนามของเสียงนี้ไม่สามารถสร้างขึ้นที่หน้างานจริงได้
Sonocat ใช้หลักการวัดคลื่นเสียงในรูปแบบ 3D โดยเครื่องมือสามารถวัดคลื่นเสียงในทิศทางต่างๆ จึงสามารถแยกแยะคลื่นเสียงที่ตกกระทบวัตุและคลื่นเสียงที่สะท้อนออกจากวัตถุ ทำให้สามารถวัดค่าการดูดซับเสียง รวมถึงค่าการกันเสียงของวัสดุ ณ สถานที่จริงหรือหน้างานจริงได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยหลักการสร้างสนามของเสียงในการวัดค่าทางอะคูสติกเหล่านี้
ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว Sonocat จึงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งการศึกษาแหล่งกำเนิดเสียงหรือวัสดุที่ไม่สามารถนำเข้าไปศึกษาในห้องปฏิบัติการ หรือมีการติดตั้งที่หน้างานจริงแล้ว เช่น กำแพงกันเสียง หรือ Noise barrier ที่ติดตั้งตามทางด่วนและต้องการศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานหลังติดตั้ง หรือประสิทธิภาพที่คงเหลืออยู่หลังจากใช้งานมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว การถอนการติดตั้งเพื่อนำไปทดสอบอาจไม่ใช่ทางเลือกที่สมเหตุสมผล การใช้อุปกรณ์ที่สามารถทดสอบค่าทางอะคูสติกที่หน้างานจริงได้จึงมีประโยชน์ในสถานการณ์นี้ เพื่อให้วิศวกรสามารถทดสอบค่าการซับเสียงของวัสดุที่มักเป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน Noise barrier และสามารถวัดค่าการกันเสียงของกำแพงที่ติดตั้งมาเป็นเวลานานแล้วได้ เพื่อประเมินความเสื่อมสภาพและช่วยให้สามารถวางแผนในการบำรุงรักษา หรือคำนวณระยะการใช้งานที่ยังเหลืออยู่ได้
นอกจากนี้ Sonocat ยังสามารถใช้เพื่อหาตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียง หรือตำแหน่งที่เสียงเกิดการรั่วได้ เช่น ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ต้องมีการทดสอบหรือตรวจหาตำแหน่งที่เสียงภายนอกอาจรั่วไหลเข้ามาในยานพาหนะ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาอย่างถูกจุด