Geonoise Thailand

รับปรึกษาปัญหาด้านเสียง การควบคุมเสียง ความสั่นสะเทือน ทั้งยังมีการประเมินปัญหาและวิเคราะห์ แก้ไข รวมไปถึงการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยเฉพาะ เรายังจำหน่ายอุปกรณ์กันเสียง วัดเสียง และอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Sonocat 3D

Sonocat

วิธีการการวัดค่าการดูดซับเสียงของผิววัสดุ

In-situ sound absorption measurements

ในการวัดค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนคลื่นเสียง (Sound absorption coefficient) หรือวัดค่า NRC, SAA นั้น มีมาตรฐานการทดสอบโดยใช้วิธีการ Impedance tube หรือทดสอบได้ใน Reverberation chamber ที่เป็นห้องเสียงสะท้อน นอกเหนือจากนั้นยีงมีวิธีการวัดค่า Sound absorption ในรูปแบบ In-situ คือการวัดค่าที่พื้นผิวของวัสดุโดยตรง โดยใช้ Array microphones แบบ Spherical แสกนไปยังพื้นผิวของวัสดุ โดยวิธีการ Local Plane Wave-method

การวัดค่าสัมประสิทธิ์การดูกลืนคลื่นเสียงจะเป็นค่าอัตราส่วนระหว่าง Sound power incident ที่สัมพันธ์กับค่าการสะท้อนกลับของพื้นผิว โดย Array microphones แบบ Spherical จะสามารถระบุทิศทางของ Plane wave และทิศทางตรงกันข้ามของ Reflection plane wave

การวัดค่า Sound Absorption

วิธีการวัดแบบ In-Situ สามารถดำเนินการวัดกับพื้นผิวของวัสดุที่ ติดตั้งกับหน้างานไปแล้วได้โดยไม่ต้องนำวัสดุเข้ามาทดสอบในห้องปฏิบัติการ วิธีการคือนำแหล่งกำเนิดเสียง หรือลำโพงปล่อยคลื่นเสียง ในทิศทางตรงกันข้ามกับพื้นผิววัสดุทดสอบ แล้วใช้ระบบ Array microphones แบบ Spherical สแกนไปยังพื้นผิวของวัสดุที่ต้องการทดสอบค่า Sound absorption

โดยเครื่องมือวัด Sonocat ที่ถูกออกแบบมาโดยใช้ระบบ Array microphones แบบ Spherical สามารถวัดค่าการดูดกลืนคลื่นเสียงของพื้นผิววัตถุ โดยสมการดังต่อไปนี้

เมื่อ      α คือ ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนคลื่นเสียง

          Wac คือ ค่า Sound Power จากการพื้นผิวของวัสดุ

          Win คือ ค่า Sound Power จากทิศทางอื่นๆ ที่ทำการวัดในขณะเดียวกัน

ตัวเครื่องของ Sonocat ยังสามารถวัดค่า Sound Power ได้โดยใช้วิธีการ Intensity method ISO 9641-1 และ 9641-2

Software interface ที่สามารถวัดค่า SPL, Sound Power, Sound intensity

ตัวอย่าง Software ที่สามารถแสดงค่า Sound absorption coefficient และ ค่า Reflective ของพื้นผิววัสดุ

 

ตัวอย่างงานทดสอบประสิทธิภาพการดูกลืนคลื่นเสียงของวัสดุ แบบ In-Situ

งานห้องประชุมหรือห้อง Auditorium

ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบหรือปรับปรุงค่าการสะท้อน Reverberation time ของ Auditorium โดยปกติแล้ววิศวกรอคูสติกส จะทำการคำนวณค่า RT จากสมการทางคณิตศาสตร์ ยกตัวอย่างสมการ RT = 0.163 x V/A ซึ่งที่มาของค่า Sound absorption ของวัสดุจะมาจากผลที่ทดสอบได้จากห้องปฏิบัติการ หรือ datasheet ของผู้ผลิต แต่ในการปรับปรุงห้องที่มีวัตถุอย่างอื่นเช่น พื้น โต๊ะ เก้าอี้ ผ้าม่าน จอฉายภาพ ผนังตกแต่ง สิ่งต่างๆเหล่านี้คือ Absorption surface area ทั้งหมด ซึ่งก็คือค่า A ซึ่งเราจะสามารถใช้เครื่อง Sonocat ในการวัดค่า Sound absorption ของวัตถุเหล่านี้ได้ เพื่อนำไปคำนวณค่าการสะท้อนที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ 

งานเปรียบเทียบประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในงาน Automotive

สำหรับ Automotive part แทบจะทุกชิ้นที่ประกอบขึ้นภายในห้องโดยสาร จะต้องมีการทดสอบค่า Sound absorption อย่างเหมาะสม ตามมาตรฐาน ISO354 ASTM C432 หรือนำไปทดสอบใน Impedance tube แต่ในส่วนขั้นตอนพัฒนาผลิตภัณฑ์ความรวดเร็วของข้อมูลทดสอบถือเป็นความก้าวหน้าอันสำคัญที่จะนำหน้าคู่แข่งทางธุรกิจ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าการส่งชิ้นส่วนไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการมีการใช้เวลานานในการเตรียมชิ้นงานและการทดสอบ แต่เครื่อง Sonocat เป็นการวัดค่าของวัตถุนั้นและทำให้เรารู้ผลเลยในทันที และสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุเพื่อเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือเลือกใช้งานวัสดุ

การทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นซับเสียง Sound absorption panel, Noise barrier

ในท้องตลาดมีวัสดุจำนวนมากมายที่ผลิตจากโรงงานท้องถิ่น หรือการนำวัสดุมาประกอบรวมกันเป็นระบบหรือ Panel ที่มีหลาย Layer ซึ่งบางวัสดุอาจจะไม่มีผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการ เรายังสามารถใช้ Sonocat ทดสอบวัสดุที่ทำการติดตั้งไปแล้วได้โดยทันที หรือวัสดุที่ประกอบขึ้นมาใหม่ หรือ Noise barrier ที่ทำการติดตั้งไปแล้วนานแล้วว่ายังมีประสิทธิภาพของการดูดซับเสียงสูญเสียไปจากเดิมเท่าไหร่

Application อื่นๆของ Sonocat

– Sound Pressure Measurement and Sound frequency band and FFT analysis แบบ real-time การวัดค่าระดับความดันเสียง ตามมาตรฐาน IEC61672-1 และวิเคราะห์ความถี่เสียง

– Sound intensity ระดับความเข้มเสียง แบบ 3D intensity

– Sound Power ระดับกำลังเสียง

นอกจากนี้เรายังมีวิศวกรอคูสติกที่มีประสบการณ์ สามารถ Support ลูกค้าทั้งในด้านทฤษฏี และการปฏิบัติการวัดและทดสอบให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

Scroll to top